เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. สมณสัญญาวรรค 2. โพชฌังคสูตร
6. เป็นผู้มีการพิจารณาปัจจัยทั้งหลายอันเป็นบริขารแห่งชีวิตว่า ‘ปัจจัย
เหล่านี้มีประโยชน์เช่นนี้’ แล้วจึงบริโภค
7. เป็นผู้ปรารภความเพียร
ภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา 3 ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อม
ให้ธรรม 7 ประการนี้บริบูรณ์
สมณสัญญาสูตรที่ 1 จบ

2. โพชฌังคสูตร1
ว่าด้วยโพชฌงค์
[102] ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) 7 ประการนี้
ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้วิชชา 3 ประการบริบูรณ์
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม)
3. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
4. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ)
6. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็นกลาง
เพราะเห็นตามเป็นจริง)
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้
วิชชา 3 ประการบริบูรณ์
วิชชา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา. 11/330/221, 357/258, องฺ.สตฺตก. 23/26/21

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :243 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. สมณสัญญาวรรค 3. มิจฉัตตสูตร
1. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง 3 ชาติบ้าง ฯลฯ
เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
2. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้
เป็นไปตามกรรมว่า ฯลฯ อย่างนี้แล1
3. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้
วิชชา 3 ประการนี้บริบูรณ์
โพชฌังคสูตรที่ 2 จบ

3. มิจฉัตตสูตร
ว่าด้วยมิจฉัตตธรรม
[103] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรม(ธรรมที่ผิด) จึงมีการพลาด
จากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล
เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรมอย่างไร จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มี
การบรรลุสวรรค์และมรรคผล
คือ ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) ย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ(ดำริผิด)
ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ย่อมมีมิจฉาวาจา(เจรจาผิด)
ผู้มีมิจฉาวาจา ย่อมมีมิจฉากัมมันตะ(กระทำผิด)
ผู้มีมิจฉากัมมันตะ ย่อมมีมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด)
ผู้มีมิจฉาอาชีวะ ย่อมมีมิจฉาวายามะ(พยายามผิด)
ผู้มีมิจฉาวายามะ ย่อมมีมิจฉาสติ(ระลึกผิด)

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 97 (อาหุเนยยสูตร) หน้า 229 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :244 }